วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความสามารถในการกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจ

หลังจากการประเมินสถานะการณ์โดยคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ อย่างครบถ้วนทั้งภายในและภายนอก ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผลจากการประเมินดังกล่าวจะเป็นฐานในการคิดเพื่อหาทางเลือกกลยุทธ์ นักคิดเชิงกลยุทธ์มีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากกว่า จะพยายามหาทางเลือกกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ออกมาให้มากที่สุดก่อน และอาจจะใช้ความคิดสร้างสรรค์เข้ามาช่วยในการระดมความคิด



เพื่อให้ได้ทางเลือกที่แปลกใหม่จำนวนมาก จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ ประเมินข้อดี ข้อเสีย ทีละกลยุทธ์ โดยพิจารณาความเหมาะสม เงื่อนไข และข้อจำกัด เมื่อนำไปใช้จริงจะได้ผลเป็นอย่างไร จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งอย่างรอบคอบ และดีที่สุดในสถานะการนั้น ๆ

การคิดเชิงกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การตัดสินเลือกทางเลือกกลยุทธ์จะให้น้ำหนักส่วนดี ส่วนเสีย ของทางเลือกที่แตกต่างกันหลาย ๆ ทางเลือก และเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามต้องการ ซึ่งการตัดสินใจจะมีลักษณะเป็นวงจร เริ่มตั้งแต่การกำหนดขอบเขตของประเด็นที่จะดำเนิืนการ การวิเคราะห์สถานะการณ์ที่เป็นอยู่ การพิจารณาทางเลือกหลาย ๆ ทางและวิเคราะห์ทางเลือกเหล่านั้น พิจารณาทางเลือกแต่ละทางว่ามีส่วนดี ส่วนเสียอย่างไร และเลือกทางที่เห็นว่าดีที่สุด



ความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดท่ามกลางสถานฃะการต่าง ๆ สะท้อนถึงความมีสติปัญญาที่แตกต่างกัน ของนักคิดเชิงกลยุทธ์แต่ละบุคคล คนที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ใช้เหตุผลเป็น มองการณ์ไกลเป็น รู้อันดับความสำคัญ ประเมินได้ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นและคิดหาทางเลือกที่ดีกว่าได้ ย่อมสามารถบรรลุเป้าหมาย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

นักจิตวิทยาค้นพบว่า แท้จริงคนเราไม่ได้ตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลเสมอไป ในทางตรงข้าม คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มตัดสินใจตามความพึงพอใจ ของตนด้วยอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าที่จะใช้เหตุผล เนื่องจากคนเรามีความสามารถในการใช้เหตุผลอย่างมีขอบเขตจำกัด (Simon,1956) คนเราไม่ใช่นักตัดสินใจที่ดี มักจะไม่มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ ขาดความสามารถในการใช้เหตุผล คล้อยตามอารมณ์ความรู้สึกมากเกินไป หรือยอมรับทางเลือกแรกทันทีโดยไม่คำนึงถึงทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจจะดีกว่า ไม่ได้พิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด แล้วมาให้น้ำหนักชั่งตวงวัดว่าอะไำรดีกว่า สูญเสียน้อยกว่า ได้มากกว่า แต่ตัดสินใจว่าชอบสิ่งใด พอใจสิ่งใดมากกว่ากัน โดยใช้เกณฑ์มาตราฐานที่ตนกำหนดขึ้นเองตามความพึงพอใจส่วนตัว



ตัวอย่างเช่น ในการเลือกชื้อรถ เราอาจจะไม่ได้ดูรถทุกรุ่นในตลาด แต่เลือกเฉพาะยีห้อ สี รุ่น และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เราพึงพอใจ หรือการเลือกคนที่เราพึงพอใจแต่งงานด้วย เพราะเขามีคุณสมบัติตามที่เราต้องการ เป็นต้น ถ้าสิ่งที่เราตัดสินใจเลือกไม่ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำสุดที่เราตั้งไว้ ย่อมเกิดความไม่พึงพอใจขึ้นได้

ความแตกต่างระหว่างคนที่มีความสามารถคิดเชิงกลยุทธื กับคยที่ตัดสินสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่มีกลยุทธ์คือ คนที่มีความคิดเชิงกลยุทธ์ฺจะไม่ด่วนตัดสินใจ แต่ละในกระบวนการกลั่นกรองข้อมูล เมื่อทำการตัดสินใจจะคำนึงถึงความพึงพอใจที่ได้รับจากทางเลือกต่าง ๆ ขณะเดียวกันจะคำนึงถึงโอกาสที่ผลลัพธ์จะเป็นไปตามที่คาดหวังว่ามีมากน้อยเพียงใด




โดยคิดหาเหตุผลอย่างรอบคอบ ชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียเปรียบเทียบระหว่างทางเลือกต่าง ๆ คาดการณ์ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โอกาสความสำเร็จ ความเสียงต่อความล้มเหลว ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้มั่นใจในทางเลือกก่อนตัดสินใจอันจะทำให้โอกาสความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นมีน้อยที่สุด

นอกจากนี้นักคิดเชิงกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จจะมีความสามารถในการยืดหยุ่นและพลิกแพลง สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น เช่น ในสถานะการณ์ที่คู่แข่งเป็นต่อ มีความพร้อมมากกว่า และพร้อมจะรุกรานเรา ขณะที่เราขาดความพร้อม รวมทั้งฝีมือด้วยกว่า นอกจากนี้สภาพแวดล้อมภายนอกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความไม่แน่นอน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ั ในสถาณการณ์ที่มีข้อจำกัดเช่นนี้ นักคิดเชิงกลยุทธ์จะพยายามหาทางเลือกที่หลากหลาย และประเมินว่าทางเลือกใดน่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดจึงเลือกทางนั้น โดยพิจารณาจังหวะและเวลา รู้ว่าเวลาใดควรทำสิ่งใด มัความรวดเร็วในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยความสุขุมรอบคอบและคิดแง่บวก อันจะช่วยให้สามารถมองเห็นโอกาสท่ามกลางวิกฤตได้เสมอ


วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความสามารถในการคาดคะเนการเปลี่ยนแปลง



นักคิดเชิงกลยุทธ์จะตระหนักวว่า สภาพแวดล้องภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และอาจมีผลกระทบไม่อาจจะคาดคะเนต่อเป้าหมายที่ต้องการไปถึงได้ โดยสภาพแวดล้อมภายนอกนั้นไม่สามารถคาดคะแนได้ถูก 100 % แต่สามารถมารถมีผลกระทบต่อเป้าหมายของเราได้ 100 % ซึ่งอาจจะเป็นผลกระทบทางบวก ... เป็นโอกาสนำเราไปสู่เป้าหมาย หรืออาจจะเป็นผลกระทบทางลบ ..เป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายก็ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องวิเคราะห์ คาดคะเนความเป็นไปได้ของสภาวะแวดล้อมในอนาคตตลอดเส้นทางที่จะไปสู่เป้าหมายด้วย



ความไม่แน่นอนของอนาคตส่งผลให้นักคิดเชิงกลยุทธ์ต้องกลายเป็น "ผู้พยากรณ์" ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต และสิ่งที่เกิดขึ้นั้นจะมีผลต่อเป้าหมายที่วางไว้อย่างไร และถ้าเป็นจริงอย่างที่พยากรณ์ไว้จะต้องปรับตัวอย่างไร เนื่องจากอนาคตของความแน่นอน คือความไม่แน่นอน นักคิดเชิงกลยุทธ์ จึงจำเป็นต้องเป็นนักพยากรณ์ในลักษณะ "เผื่อเลือก" หรือสร้างทางเลือกที่หลากหลายสำหรับโอกาสของสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตไว้เสมอ

ปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จของการคิดเชิงกลยุทธ

เราจะคิดเชิงกลยุทธ์อย่างประสบความสำเร็จหากมีองค์ประกอบเหล่านี้ อาทิ เช่น
ความแม่นยำของสมมติฐาน


นับตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นมา สมองจะพัฒนาความสามารถในการคิดหาเหตุผลความเป็นไปได้ โดยมีการส้างข้อสมมติฐานของความเป็นไปได้ของสิ่งที่จะคิด หรือเรียกว่า การคิดอย่างมีสมมติฐาน เพื่อวินิฉัยคาดการณ์ความเป็นไปได้ ว่าต่อไปน่าจะเกิดอะไรขึ้น เรียกการคิดแบบนี้ว่า "ถ้าเป็นเช่นนี้ ... ดังนั้นจะเกิด ... " (if-then)

สมมติฐานในเรื่องต่าง ๆ เกิดจากการสั่งสมของประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับโลกและชีวิต ความเชื่อ และเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการคาดคะแน ในเรื่องนั้นว่ามีความแม่นยำมากน้อยเพียงใด โดยสมองจะคิดกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็วระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ ของสิ่งที่น่าเกิดขึ้น และเพื่อที่จะเปรียบเทียบสิ่งที่สังเกตเห็นกับสิ่งที่เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้

ความสามารถในการคิดผ่านสมมติฐานเป็นเครื่องมือที่มีพลังมาก เพราะจะทำให้สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ สามารถมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหากทำสิ่งนี้ลงไป



และสามารถนำเสนอทางเลือกใหม่ ๆ ในการอธิบายเหตุการที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการตั้งสมมติฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การคิดแบบสร้างสมมติฐานมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจ จะช่วยให้เกิดการวางแผนล่วงหน้าและคาดการณ์ผลลัพธ์ หากเลือกอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ถ้าหากเลือกที่จะไปเที่ยวต่างจังหวัด จะต้องบอกยกเลิกงานพิเศษที่ทำอยู่

คนที่มีความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์จะแก้ปัญหาได้อย่างมีแนวโน้มประสบผลสำเร็จมากกว่า หากเขามีสมมติฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้นถูกต้อง

ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาของ อ.ทนง

... ขณะที่ อ.ทนง กำลังรอคิวชื้อบัตรเพื่อชมนิทรรศการ เขาหันไปชมการแสดงที่อยู่ข้าง ๆ สักพักหนึ่งเมื่อหันกลับมาพบว่าแถวข้างหน้าได้กระเถิบไปไกลประมาณสองฟุตแล้ว และสังเกตพบว่ามีชายคนหนึ่งมายืนแซงหน้าไปเสียแล้ว ในความคิดของ อ.ทนง ขณะนั้นรุ้สึกว่า ชายคนนั้นไม่ควรทำอย่างนั้นเพราะเป็นการเอาเปรียบคนอื่นที่มายืนรออยู่นานกว่า เป้าหมายของ อ.ทนง คือการไปยืนต่อคิวให้ถูกต้อง ...

เมื่อมีปัญหาขึ้น อ.ทนง จึงคิดว่าเขาควรแก้ปัญหานี้อย่างไร

เขาคิดได้ว่า น่าจะสะกิดชายผู้นั้นแล้วพูดอย่างสุภาาพว่าเขาแซงคิวและนำเสนอให้ไปต่อแถวด้านหลังให้ถูกต้อง แต่ก่อนที่จะลงมือทำ สมองของ อ.ทนง ก็คิดอย่างรวดเร็วในลักษณะที่ว่า "สมมติถ้าเขาสะกิด ... ชายคนนั้นจะรู้สึกอย่างไร" "ถ้าเขาบอกให้ชายคนนั้นไปเข้าคิวใหม่ .. ชายคนนั้นจะมีปฏิกิริยาอย่างไร"

อ.ทนงจะคิดอย่างรอบคอบครู่หนึ่งเพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่น่าจะได้รับการตอบสนองกลับมาอย่างไร หรือถ้าชายคนนั้นตอบสนองในทางตรงข้ามกับที่เขาคิดไว้จะทำอย่างไร จากนั้นเขาก็วางแผนอย่างย่อย ๆในความคิดว่าแต่ละขั้นตอนตั้งแต่เริ่มสะกิดผู้ชาขคนนั้น เขาต้องพูดอย่างไรบ้างที่จะทำให้ชายคนนั้นทำตาม หากทำตามเขาจะต้องทำอย่างไรต่อไปและถ้าไม่ทำตามเขาจะต้องทำอย่างไร

สมมติเหตุการจริงเป็นเช่นนี้ ...

  • อ.ทนง :: สะกิดผู้ชายคนที่แชงคิว .. ขอโทษนะครับ พอดีผมกำลังชมการแสดงเพลินอยุ่ ไม่ทันได้สังเกตว่าแถวเลื่อนขึ้นไปแล้ว พอหันกลับมาคุณก็ยืนอยู่ข้างหน้าผมแล้ว ?
  • ชายที่แซงคิว :: อ้อ หรือครับ ผมคิดว่าเป็นปลายแถว
  • อ.ทนง :: ไม่ใช่ครับ ผมมายืนรอตั้งนานแล้ว
  • ชายที่แซงคิว :: อึม ... (ท่าทางไม่ค่อยเชื่อมากนัก)
  • อ.ทนง :: ถามคุณผู้ชายที่ยืนต่อจากหลังผมก็ได้ (หันไปถาม)
  • ชายด้านหลัง :: ครับ ผมต่อหลังเขามาตั้งนานแล้วครับ
  • ชายที่แซงคิว :: โอเคครับ ผมไปต่อคิวด้านหลังก็ได้
สรุปว่า ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

จากตัวอย่างการแก้ปัญหาของ อ.ทนง เขาจะต้องสมมติฐานในใจว่า คนส่วนใหญ่ย่อมไม่ต้องการถูกกล่าวหาว่าเป็นคนผิด และมักจะปกป้องตัวเองทันที ดังนั้นจึงใช้วิธีไม่แสดงออกไปว่ากล่าวหาเขา นอกจากนี้ยังมีสมมติฐานว่า คนเราโดยทั่วไปจะตอบสนองต่อคำพูดที่สุภาพ และยินดีให้ความร่วมมือ ดังนั้นเขาจึงเลือกวิธีการแสดงออกด้วยคำพูดที่สุภาพ

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะของความคิดเชิงกลยุทธ์

ลักษณะของความคิดเชิงกลยุทธ์



มีลักษณะเป็นกระบวนการ
ความคิดเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการความคิดหรือเรียกว่าเป็น "ชุดความคิด" คือคิดตั้งแต่เริ่มต้น จนบรรลุเป้าหมายไว้ล่วงหน้าก่อนลงมือดำเนินการ จากสถานะการปัจจุบันจนถึงเป้าหมายหรือสถานะการที่พึงประสงค์ในอนาคต เริ่มจากการมีเป้าหมายบางอย่างที่ต้องการทำให้สำเร็จ จากนั้นจึงหาวิธีดำเนินการไปสู่เป้าหมาย โดยมีการวางแผนเกี่ยวกับทิศทางและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้มากที่สุด

มีการวิเคราห์และประเมินสถานะ
ก่อนที่จะเลือกวิธีการดำเนิืนการใด ๆ จะต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสถานะ ทั้งของตกเองและสภาพแวดล้อง เพื่อดูว่าตนเองมีศักยภาพเพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ มีจุดแข็งใดที่ถือเป็นโอกาสให้ประสบความสำเร็จ และมีจุดอ่อนใดบ้างที่อาจเป็นเหตุให้ประสบความล้มเหลว นอกจากนี้ต้องวิเคราห์และประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาโอกาสและอุปสรรค์ที่จะทำให้ไปไม่ถึงหรือไปไม่ถึงเป้าหมาย

มีการคาดการณ์ถึงอนาคต
นอกจากนี้ต้องมีการคาดการณ์อนาคต เพระาจะช่วยให้เห็นถึงจุดอ่อนซึ่งเป็นมูลเหตุก่อให้เกิดการสูบเสียต่าง ๆ และจุดแข็งซึ่งจะทำให้เห็นโอกาสที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวิเคราห์จุดแข็งจุดอ่อนของตน และคาดคะแนสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องว่าจะเป็นเ่ชนไรในอนาคต และเพื่อระมัดระวังตัวหรือหลบหลีกได้ทันทีหากสิ่งไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น

มีทางเลือกและประเมินทางเลือกในการดำเนินการ
เนื่องจากการตัดสินใจทุกเรื่องมีความสำคัญ ถ้าตัดสินใจผิดพลาด อาจจะทำให้ไปไม่ถึงเป้าหมาย หรือต้องเสียเวลา เสียทรัพยากรณ์ในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นจึงต้องพยายามหาทางเลือกกลยุทธ์มากกว่าหนึ่งทาง ประเมินทางเลือกนั้นก่อนนำไปใช้งานจริง โดยพิจารณาผลดีผลเสียของทางเลือกแต่ละทาง โอกาสการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน เลือกทางที่มั่นใจในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นมากที่สุด และคิดว่าน่าจะเป็นทางเลือกที่นำไปสู่ความสำเร็จมากที่สุด

มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน
เมื่อได้ทางเลือกต่าง ๆ ที่นำไปสู่เป้าหมาย จะมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รู้ว่าเวลาใดควรทำอะไร ที่ใหน อย่างไร อาจจะมีการกำหนดเป้าหมายย่อย ๆ หลาย ๆ เป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จทั้งหมด เป้าหมายใหญ่จึงบรรลุ การคิดเชิงกลยุทธ์ในเรื่องเล็ก ๆ อาจเป็นการวางแผนในความคิด ส่วนเรื่องใหญ่ ๆ เช่นการวางแผนกลยุทธ์ฺในระดับองค์การ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญสองส่วน คือส่วนที่หนึ่ง เป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายที่จะต้องการไปถึง และส่วนที่สอง วิถีทางหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น แผนกลยุทธ์มีกำหนดไว้ล่วงหน้าจะนำไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์ โดยเขียนออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน

มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์
แผนกลยุทธ์หรือทางเลือกกลยุทธ์สามารถยืดหยุ่น พลิกแพลงหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยในระหว่างดำเนินการจะต้องประเมินสถานการณ์อยู่เสมอ เนื่องจากอาจจะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ และแผนการจะต้องมีความยืดหยุ่นพลิกแพลงได้ตามความเหมาะสม นักคิดเชิงกลยุทธ์ จะต้องมีความว่องไวและเฉียบคมในการประเมินสถานะการ และวิเคราห์ได้ว่า สภาพแวดล้อมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อเส้นทางไปสู่เป้าหมายอย่างไรบ้าง เพื่อหาจังหวะและฉวยโอกาสจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรือหลบหลีกให้ทัน เมื่อมีอันตรายกล้ำกลายแบบกะทันหัน มีการคิดหาทางเลือกอื่น ๆ สำรองไว้สำหรับสถานการณ์ไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น



จดจ่อที่เป้าหมาย
ในระหว่างการดำเนินการ นักคิดเชิงกลยุทธ์จะต้องมุ่งมั่นและจดจ่ออยู่กับอนาคต พยายามหาหนทางยึดเป้าหมายให้สำเร็จ ไม่ยึดติดอยู่กับความสำเร็จที่ผ่านมา หรือเสียใจกับความล้มเหลวที่ไม่น่าเกิดขึ้น แต่ให้มองไปข้างหน้าเพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดสู่เป้าหมายที่วางไว้

ความคิดเชิงกลยุทธ์เป็นความคิดที่มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงและพลิกแพลงได้ตามสถานะการณ์

เราจะคิดเชิงกลยุทธ์เมื่อไร ?

...เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะที่ต้องอยู่ในการแข่งขัน/ต่อสู้



ในการแข่งขันหรือต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมส์ การแข่งขันกีฬา การแข่งขันทางธุรกิจ หรือในการทำสงครามต่างฝ่ายต่างพยายามให้ตนเองได้รับชัยชนะ แต่ชัยชนะที่มุ่งหวังนั้นมิใช่จะได้มาง่าย ๆ เพราะผ่ายตรงข้ามย่อมมุ่งหวังเช่นเดียวกัน เมื่อฝ่ายหนึ่งรุก ฝ่ายหนึ่งต้องตั้งรับ ตอบโต้ และพยายามหาโอกาสที่เป็นฝ่ายรุกบ้าง เป็นการตอบโต้กลับไปกลับมา ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตัดสินใจผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจจะหมายถึงความพ่ายแพ้ ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนลงสู่สนามแข่งขันจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าโอกาสที่เราจะได้รับชั้ยชนะมีสูง

การเตรียมความพร้อมจึงต้องมีเริ่มต้นตามสำนวน
"รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" ต้องมีการประเมินกำลังความสามารถของตนก่อน ดูว่าเรามีจุดอ่อนตรงไหนที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เพลี่ยงพล้ำ และมีจุดแข็งตรงไหนที่จะเป็นข้อได้เปรียบคู่แข่ง



สำรวจปัจจัยภายใน เรื่องกำลัง ความสามารถ ทรัพยากรณ์ต่าง ๆ เพื่อประเมินได้ว่าโอกาสที่จะได้เปรียบหรือได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งมากน้อยเพียงใด ขณะเดียวกันศึกษาแนวทางการดำเนินเกมของคู่แข่งในช่วงที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้รู้ว่ามีแนวทางการดำเนินกลยุทธ์อย่างไร มีจุดแข็งอย่างไรที่เป็นต่อผ่ายเรา และจุดอ่อนใดที่เรามีโอกาสเป็นต่อ

อย่างไรก็ตาม แม้ก่อนการแข่งขันจะมีการวางแผนมาแล้วอย่างดี แต่ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ ขณะที่ทำการแข่งขันจึงต้องเตรียมพร้อมเสมอ ประ้เมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้า ปรับตัวและเปลี่ยนแผนได้อย่างรวดเร็ว



หาทางหลบหลีกสถานการณ์ที่อาจจะทำให้ล้มเหลว และฉวยโอกาสเมื่อจังหวะเวลาที่เหมาะสมมาถึง มีทั้งรุกและรับ สลับกันไป ผู้เพลี่ยงพล้ำเพียงก้าวเดียวย่อมเป็นผู้ที่พ่ายแพ้

ตัวอย่างการเล่นหมากรุก ทุกครั้งที่ถึงตาเราต้องเดินเกม ฝ่ายตรงข้ามจะหยิบยื่นข้อเสนอที่ไม่แน่นอนให้เราเลือกเสมอ ทั้งข้อเสนอที่อาจนำเราไปสู่จุดเริ่มต้นแห่งความล้มเหล็ว และข้อเสนอที่นำไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ที่จะได้ชัยชนะ แผนที่เราวางไว้ว่าจะเดินตัวใดต่อไป ย่อมต้องเปลี่ยนไปให้เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ถึง 3 ประการในการบรรลุเป้าหมาย อันได้แก่

  • เพื่อป้องกันการรุกรานของฝ่ายตรงข้าม
  • เพื่อเปิดโอกาสให้ตนเองเป็นฝ่ายได้เปรียบ
  • เพื่อให้คู่ต่อสู้ถึงคราวจนตรอก

ดังนั้น ในการเดินหมากแต่ละครั้งจึงจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์ได้ตลอด

ความหมายของกลยุทธ์

ความหมายของกลยุทธ์
กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการหรือแผนการที่คิดขึ้นอย่างรอบคอบ มีลักษณะเป็นขั้นตอน มีความยืดหยุ่นพลิกแพลงได้ตามสถานะการณ์ มุ่งหมายเพื่อเอาชนะคู่แข่งขันหรือเพื่อหลบหลีกอุปสรรคต่าง ๆ จนสามารถบันลุเป้าหมายที่ต้องการ



กลยุทธ์ มีความหมายเหมือนคำว่า ยุทธศาสตร์ เดิมใช้ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับการรบ มาจากภาษาอังกฤษว่า Strategy ใช้ในครั้งแรกในวงการทหารและการทำสงคราม หมายถึง ศิลปะในการวางแผนยุทธศาสตร์และการบันชาการรบเพื่อเอาชนะศัตรู

ความคิดเชิงกลยุทธ เป็นความคิดที่เต็มไปด้วยการค้นหาวิธีการและการวางแผนงานอย่างมี่ขั้นตอน เพื่อมุ่งหมายที่จะเอาชนะ เพื่อต้องการจะประสบความสำเร็จบางอย่าง

เช่น

ในเกมกีฬา.. ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องวางกลยุทธ์ไว้ก่อน พร้อมที่จะใช้วิธีการเชิงรุกและรับมือคู่แข่งขันหากต้องการเป็นผู้ชนะ

ในการดำเนินธุรกิจ .. ผู้ประกอบการที่ต้องการประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ภายใต้สภาวะที่ไม่แน่นอนต้องมีการวางแผนระยะยาว