วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เราจะคิดเชิงกลยุทธ์เมื่อไร ?

...เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะที่ต้องอยู่ในการแข่งขัน/ต่อสู้



ในการแข่งขันหรือต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมส์ การแข่งขันกีฬา การแข่งขันทางธุรกิจ หรือในการทำสงครามต่างฝ่ายต่างพยายามให้ตนเองได้รับชัยชนะ แต่ชัยชนะที่มุ่งหวังนั้นมิใช่จะได้มาง่าย ๆ เพราะผ่ายตรงข้ามย่อมมุ่งหวังเช่นเดียวกัน เมื่อฝ่ายหนึ่งรุก ฝ่ายหนึ่งต้องตั้งรับ ตอบโต้ และพยายามหาโอกาสที่เป็นฝ่ายรุกบ้าง เป็นการตอบโต้กลับไปกลับมา ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตัดสินใจผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจจะหมายถึงความพ่ายแพ้ ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนลงสู่สนามแข่งขันจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าโอกาสที่เราจะได้รับชั้ยชนะมีสูง

การเตรียมความพร้อมจึงต้องมีเริ่มต้นตามสำนวน
"รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" ต้องมีการประเมินกำลังความสามารถของตนก่อน ดูว่าเรามีจุดอ่อนตรงไหนที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เพลี่ยงพล้ำ และมีจุดแข็งตรงไหนที่จะเป็นข้อได้เปรียบคู่แข่ง



สำรวจปัจจัยภายใน เรื่องกำลัง ความสามารถ ทรัพยากรณ์ต่าง ๆ เพื่อประเมินได้ว่าโอกาสที่จะได้เปรียบหรือได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งมากน้อยเพียงใด ขณะเดียวกันศึกษาแนวทางการดำเนินเกมของคู่แข่งในช่วงที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้รู้ว่ามีแนวทางการดำเนินกลยุทธ์อย่างไร มีจุดแข็งอย่างไรที่เป็นต่อผ่ายเรา และจุดอ่อนใดที่เรามีโอกาสเป็นต่อ

อย่างไรก็ตาม แม้ก่อนการแข่งขันจะมีการวางแผนมาแล้วอย่างดี แต่ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ ขณะที่ทำการแข่งขันจึงต้องเตรียมพร้อมเสมอ ประ้เมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้า ปรับตัวและเปลี่ยนแผนได้อย่างรวดเร็ว



หาทางหลบหลีกสถานการณ์ที่อาจจะทำให้ล้มเหลว และฉวยโอกาสเมื่อจังหวะเวลาที่เหมาะสมมาถึง มีทั้งรุกและรับ สลับกันไป ผู้เพลี่ยงพล้ำเพียงก้าวเดียวย่อมเป็นผู้ที่พ่ายแพ้

ตัวอย่างการเล่นหมากรุก ทุกครั้งที่ถึงตาเราต้องเดินเกม ฝ่ายตรงข้ามจะหยิบยื่นข้อเสนอที่ไม่แน่นอนให้เราเลือกเสมอ ทั้งข้อเสนอที่อาจนำเราไปสู่จุดเริ่มต้นแห่งความล้มเหล็ว และข้อเสนอที่นำไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ที่จะได้ชัยชนะ แผนที่เราวางไว้ว่าจะเดินตัวใดต่อไป ย่อมต้องเปลี่ยนไปให้เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ถึง 3 ประการในการบรรลุเป้าหมาย อันได้แก่

  • เพื่อป้องกันการรุกรานของฝ่ายตรงข้าม
  • เพื่อเปิดโอกาสให้ตนเองเป็นฝ่ายได้เปรียบ
  • เพื่อให้คู่ต่อสู้ถึงคราวจนตรอก

ดังนั้น ในการเดินหมากแต่ละครั้งจึงจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์ได้ตลอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น