วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะของความคิดเชิงกลยุทธ์

ลักษณะของความคิดเชิงกลยุทธ์



มีลักษณะเป็นกระบวนการ
ความคิดเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการความคิดหรือเรียกว่าเป็น "ชุดความคิด" คือคิดตั้งแต่เริ่มต้น จนบรรลุเป้าหมายไว้ล่วงหน้าก่อนลงมือดำเนินการ จากสถานะการปัจจุบันจนถึงเป้าหมายหรือสถานะการที่พึงประสงค์ในอนาคต เริ่มจากการมีเป้าหมายบางอย่างที่ต้องการทำให้สำเร็จ จากนั้นจึงหาวิธีดำเนินการไปสู่เป้าหมาย โดยมีการวางแผนเกี่ยวกับทิศทางและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้มากที่สุด

มีการวิเคราห์และประเมินสถานะ
ก่อนที่จะเลือกวิธีการดำเนิืนการใด ๆ จะต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสถานะ ทั้งของตกเองและสภาพแวดล้อง เพื่อดูว่าตนเองมีศักยภาพเพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ มีจุดแข็งใดที่ถือเป็นโอกาสให้ประสบความสำเร็จ และมีจุดอ่อนใดบ้างที่อาจเป็นเหตุให้ประสบความล้มเหลว นอกจากนี้ต้องวิเคราห์และประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาโอกาสและอุปสรรค์ที่จะทำให้ไปไม่ถึงหรือไปไม่ถึงเป้าหมาย

มีการคาดการณ์ถึงอนาคต
นอกจากนี้ต้องมีการคาดการณ์อนาคต เพระาจะช่วยให้เห็นถึงจุดอ่อนซึ่งเป็นมูลเหตุก่อให้เกิดการสูบเสียต่าง ๆ และจุดแข็งซึ่งจะทำให้เห็นโอกาสที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวิเคราห์จุดแข็งจุดอ่อนของตน และคาดคะแนสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องว่าจะเป็นเ่ชนไรในอนาคต และเพื่อระมัดระวังตัวหรือหลบหลีกได้ทันทีหากสิ่งไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น

มีทางเลือกและประเมินทางเลือกในการดำเนินการ
เนื่องจากการตัดสินใจทุกเรื่องมีความสำคัญ ถ้าตัดสินใจผิดพลาด อาจจะทำให้ไปไม่ถึงเป้าหมาย หรือต้องเสียเวลา เสียทรัพยากรณ์ในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นจึงต้องพยายามหาทางเลือกกลยุทธ์มากกว่าหนึ่งทาง ประเมินทางเลือกนั้นก่อนนำไปใช้งานจริง โดยพิจารณาผลดีผลเสียของทางเลือกแต่ละทาง โอกาสการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน เลือกทางที่มั่นใจในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นมากที่สุด และคิดว่าน่าจะเป็นทางเลือกที่นำไปสู่ความสำเร็จมากที่สุด

มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน
เมื่อได้ทางเลือกต่าง ๆ ที่นำไปสู่เป้าหมาย จะมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รู้ว่าเวลาใดควรทำอะไร ที่ใหน อย่างไร อาจจะมีการกำหนดเป้าหมายย่อย ๆ หลาย ๆ เป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จทั้งหมด เป้าหมายใหญ่จึงบรรลุ การคิดเชิงกลยุทธ์ในเรื่องเล็ก ๆ อาจเป็นการวางแผนในความคิด ส่วนเรื่องใหญ่ ๆ เช่นการวางแผนกลยุทธ์ฺในระดับองค์การ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญสองส่วน คือส่วนที่หนึ่ง เป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายที่จะต้องการไปถึง และส่วนที่สอง วิถีทางหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น แผนกลยุทธ์มีกำหนดไว้ล่วงหน้าจะนำไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์ โดยเขียนออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน

มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์
แผนกลยุทธ์หรือทางเลือกกลยุทธ์สามารถยืดหยุ่น พลิกแพลงหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยในระหว่างดำเนินการจะต้องประเมินสถานการณ์อยู่เสมอ เนื่องจากอาจจะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ และแผนการจะต้องมีความยืดหยุ่นพลิกแพลงได้ตามความเหมาะสม นักคิดเชิงกลยุทธ์ จะต้องมีความว่องไวและเฉียบคมในการประเมินสถานะการ และวิเคราห์ได้ว่า สภาพแวดล้อมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อเส้นทางไปสู่เป้าหมายอย่างไรบ้าง เพื่อหาจังหวะและฉวยโอกาสจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรือหลบหลีกให้ทัน เมื่อมีอันตรายกล้ำกลายแบบกะทันหัน มีการคิดหาทางเลือกอื่น ๆ สำรองไว้สำหรับสถานการณ์ไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น



จดจ่อที่เป้าหมาย
ในระหว่างการดำเนินการ นักคิดเชิงกลยุทธ์จะต้องมุ่งมั่นและจดจ่ออยู่กับอนาคต พยายามหาหนทางยึดเป้าหมายให้สำเร็จ ไม่ยึดติดอยู่กับความสำเร็จที่ผ่านมา หรือเสียใจกับความล้มเหลวที่ไม่น่าเกิดขึ้น แต่ให้มองไปข้างหน้าเพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดสู่เป้าหมายที่วางไว้

ความคิดเชิงกลยุทธ์เป็นความคิดที่มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงและพลิกแพลงได้ตามสถานะการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น