วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความสามารถในการกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจ

หลังจากการประเมินสถานะการณ์โดยคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ อย่างครบถ้วนทั้งภายในและภายนอก ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผลจากการประเมินดังกล่าวจะเป็นฐานในการคิดเพื่อหาทางเลือกกลยุทธ์ นักคิดเชิงกลยุทธ์มีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากกว่า จะพยายามหาทางเลือกกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ออกมาให้มากที่สุดก่อน และอาจจะใช้ความคิดสร้างสรรค์เข้ามาช่วยในการระดมความคิด



เพื่อให้ได้ทางเลือกที่แปลกใหม่จำนวนมาก จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ ประเมินข้อดี ข้อเสีย ทีละกลยุทธ์ โดยพิจารณาความเหมาะสม เงื่อนไข และข้อจำกัด เมื่อนำไปใช้จริงจะได้ผลเป็นอย่างไร จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งอย่างรอบคอบ และดีที่สุดในสถานะการนั้น ๆ

การคิดเชิงกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การตัดสินเลือกทางเลือกกลยุทธ์จะให้น้ำหนักส่วนดี ส่วนเสีย ของทางเลือกที่แตกต่างกันหลาย ๆ ทางเลือก และเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามต้องการ ซึ่งการตัดสินใจจะมีลักษณะเป็นวงจร เริ่มตั้งแต่การกำหนดขอบเขตของประเด็นที่จะดำเนิืนการ การวิเคราะห์สถานะการณ์ที่เป็นอยู่ การพิจารณาทางเลือกหลาย ๆ ทางและวิเคราะห์ทางเลือกเหล่านั้น พิจารณาทางเลือกแต่ละทางว่ามีส่วนดี ส่วนเสียอย่างไร และเลือกทางที่เห็นว่าดีที่สุด



ความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดท่ามกลางสถานฃะการต่าง ๆ สะท้อนถึงความมีสติปัญญาที่แตกต่างกัน ของนักคิดเชิงกลยุทธ์แต่ละบุคคล คนที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ใช้เหตุผลเป็น มองการณ์ไกลเป็น รู้อันดับความสำคัญ ประเมินได้ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นและคิดหาทางเลือกที่ดีกว่าได้ ย่อมสามารถบรรลุเป้าหมาย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

นักจิตวิทยาค้นพบว่า แท้จริงคนเราไม่ได้ตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลเสมอไป ในทางตรงข้าม คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มตัดสินใจตามความพึงพอใจ ของตนด้วยอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าที่จะใช้เหตุผล เนื่องจากคนเรามีความสามารถในการใช้เหตุผลอย่างมีขอบเขตจำกัด (Simon,1956) คนเราไม่ใช่นักตัดสินใจที่ดี มักจะไม่มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ ขาดความสามารถในการใช้เหตุผล คล้อยตามอารมณ์ความรู้สึกมากเกินไป หรือยอมรับทางเลือกแรกทันทีโดยไม่คำนึงถึงทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจจะดีกว่า ไม่ได้พิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด แล้วมาให้น้ำหนักชั่งตวงวัดว่าอะไำรดีกว่า สูญเสียน้อยกว่า ได้มากกว่า แต่ตัดสินใจว่าชอบสิ่งใด พอใจสิ่งใดมากกว่ากัน โดยใช้เกณฑ์มาตราฐานที่ตนกำหนดขึ้นเองตามความพึงพอใจส่วนตัว



ตัวอย่างเช่น ในการเลือกชื้อรถ เราอาจจะไม่ได้ดูรถทุกรุ่นในตลาด แต่เลือกเฉพาะยีห้อ สี รุ่น และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เราพึงพอใจ หรือการเลือกคนที่เราพึงพอใจแต่งงานด้วย เพราะเขามีคุณสมบัติตามที่เราต้องการ เป็นต้น ถ้าสิ่งที่เราตัดสินใจเลือกไม่ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำสุดที่เราตั้งไว้ ย่อมเกิดความไม่พึงพอใจขึ้นได้

ความแตกต่างระหว่างคนที่มีความสามารถคิดเชิงกลยุทธื กับคยที่ตัดสินสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่มีกลยุทธ์คือ คนที่มีความคิดเชิงกลยุทธ์ฺจะไม่ด่วนตัดสินใจ แต่ละในกระบวนการกลั่นกรองข้อมูล เมื่อทำการตัดสินใจจะคำนึงถึงความพึงพอใจที่ได้รับจากทางเลือกต่าง ๆ ขณะเดียวกันจะคำนึงถึงโอกาสที่ผลลัพธ์จะเป็นไปตามที่คาดหวังว่ามีมากน้อยเพียงใด




โดยคิดหาเหตุผลอย่างรอบคอบ ชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียเปรียบเทียบระหว่างทางเลือกต่าง ๆ คาดการณ์ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โอกาสความสำเร็จ ความเสียงต่อความล้มเหลว ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้มั่นใจในทางเลือกก่อนตัดสินใจอันจะทำให้โอกาสความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นมีน้อยที่สุด

นอกจากนี้นักคิดเชิงกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จจะมีความสามารถในการยืดหยุ่นและพลิกแพลง สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น เช่น ในสถานะการณ์ที่คู่แข่งเป็นต่อ มีความพร้อมมากกว่า และพร้อมจะรุกรานเรา ขณะที่เราขาดความพร้อม รวมทั้งฝีมือด้วยกว่า นอกจากนี้สภาพแวดล้อมภายนอกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความไม่แน่นอน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ั ในสถาณการณ์ที่มีข้อจำกัดเช่นนี้ นักคิดเชิงกลยุทธ์จะพยายามหาทางเลือกที่หลากหลาย และประเมินว่าทางเลือกใดน่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดจึงเลือกทางนั้น โดยพิจารณาจังหวะและเวลา รู้ว่าเวลาใดควรทำสิ่งใด มัความรวดเร็วในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยความสุขุมรอบคอบและคิดแง่บวก อันจะช่วยให้สามารถมองเห็นโอกาสท่ามกลางวิกฤตได้เสมอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น