วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จของการคิดเชิงกลยุทธ

เราจะคิดเชิงกลยุทธ์อย่างประสบความสำเร็จหากมีองค์ประกอบเหล่านี้ อาทิ เช่น
ความแม่นยำของสมมติฐาน


นับตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นมา สมองจะพัฒนาความสามารถในการคิดหาเหตุผลความเป็นไปได้ โดยมีการส้างข้อสมมติฐานของความเป็นไปได้ของสิ่งที่จะคิด หรือเรียกว่า การคิดอย่างมีสมมติฐาน เพื่อวินิฉัยคาดการณ์ความเป็นไปได้ ว่าต่อไปน่าจะเกิดอะไรขึ้น เรียกการคิดแบบนี้ว่า "ถ้าเป็นเช่นนี้ ... ดังนั้นจะเกิด ... " (if-then)

สมมติฐานในเรื่องต่าง ๆ เกิดจากการสั่งสมของประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับโลกและชีวิต ความเชื่อ และเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการคาดคะแน ในเรื่องนั้นว่ามีความแม่นยำมากน้อยเพียงใด โดยสมองจะคิดกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็วระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ ของสิ่งที่น่าเกิดขึ้น และเพื่อที่จะเปรียบเทียบสิ่งที่สังเกตเห็นกับสิ่งที่เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้

ความสามารถในการคิดผ่านสมมติฐานเป็นเครื่องมือที่มีพลังมาก เพราะจะทำให้สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ สามารถมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหากทำสิ่งนี้ลงไป



และสามารถนำเสนอทางเลือกใหม่ ๆ ในการอธิบายเหตุการที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการตั้งสมมติฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การคิดแบบสร้างสมมติฐานมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจ จะช่วยให้เกิดการวางแผนล่วงหน้าและคาดการณ์ผลลัพธ์ หากเลือกอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ถ้าหากเลือกที่จะไปเที่ยวต่างจังหวัด จะต้องบอกยกเลิกงานพิเศษที่ทำอยู่

คนที่มีความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์จะแก้ปัญหาได้อย่างมีแนวโน้มประสบผลสำเร็จมากกว่า หากเขามีสมมติฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้นถูกต้อง

ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาของ อ.ทนง

... ขณะที่ อ.ทนง กำลังรอคิวชื้อบัตรเพื่อชมนิทรรศการ เขาหันไปชมการแสดงที่อยู่ข้าง ๆ สักพักหนึ่งเมื่อหันกลับมาพบว่าแถวข้างหน้าได้กระเถิบไปไกลประมาณสองฟุตแล้ว และสังเกตพบว่ามีชายคนหนึ่งมายืนแซงหน้าไปเสียแล้ว ในความคิดของ อ.ทนง ขณะนั้นรุ้สึกว่า ชายคนนั้นไม่ควรทำอย่างนั้นเพราะเป็นการเอาเปรียบคนอื่นที่มายืนรออยู่นานกว่า เป้าหมายของ อ.ทนง คือการไปยืนต่อคิวให้ถูกต้อง ...

เมื่อมีปัญหาขึ้น อ.ทนง จึงคิดว่าเขาควรแก้ปัญหานี้อย่างไร

เขาคิดได้ว่า น่าจะสะกิดชายผู้นั้นแล้วพูดอย่างสุภาาพว่าเขาแซงคิวและนำเสนอให้ไปต่อแถวด้านหลังให้ถูกต้อง แต่ก่อนที่จะลงมือทำ สมองของ อ.ทนง ก็คิดอย่างรวดเร็วในลักษณะที่ว่า "สมมติถ้าเขาสะกิด ... ชายคนนั้นจะรู้สึกอย่างไร" "ถ้าเขาบอกให้ชายคนนั้นไปเข้าคิวใหม่ .. ชายคนนั้นจะมีปฏิกิริยาอย่างไร"

อ.ทนงจะคิดอย่างรอบคอบครู่หนึ่งเพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่น่าจะได้รับการตอบสนองกลับมาอย่างไร หรือถ้าชายคนนั้นตอบสนองในทางตรงข้ามกับที่เขาคิดไว้จะทำอย่างไร จากนั้นเขาก็วางแผนอย่างย่อย ๆในความคิดว่าแต่ละขั้นตอนตั้งแต่เริ่มสะกิดผู้ชาขคนนั้น เขาต้องพูดอย่างไรบ้างที่จะทำให้ชายคนนั้นทำตาม หากทำตามเขาจะต้องทำอย่างไรต่อไปและถ้าไม่ทำตามเขาจะต้องทำอย่างไร

สมมติเหตุการจริงเป็นเช่นนี้ ...

  • อ.ทนง :: สะกิดผู้ชายคนที่แชงคิว .. ขอโทษนะครับ พอดีผมกำลังชมการแสดงเพลินอยุ่ ไม่ทันได้สังเกตว่าแถวเลื่อนขึ้นไปแล้ว พอหันกลับมาคุณก็ยืนอยู่ข้างหน้าผมแล้ว ?
  • ชายที่แซงคิว :: อ้อ หรือครับ ผมคิดว่าเป็นปลายแถว
  • อ.ทนง :: ไม่ใช่ครับ ผมมายืนรอตั้งนานแล้ว
  • ชายที่แซงคิว :: อึม ... (ท่าทางไม่ค่อยเชื่อมากนัก)
  • อ.ทนง :: ถามคุณผู้ชายที่ยืนต่อจากหลังผมก็ได้ (หันไปถาม)
  • ชายด้านหลัง :: ครับ ผมต่อหลังเขามาตั้งนานแล้วครับ
  • ชายที่แซงคิว :: โอเคครับ ผมไปต่อคิวด้านหลังก็ได้
สรุปว่า ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

จากตัวอย่างการแก้ปัญหาของ อ.ทนง เขาจะต้องสมมติฐานในใจว่า คนส่วนใหญ่ย่อมไม่ต้องการถูกกล่าวหาว่าเป็นคนผิด และมักจะปกป้องตัวเองทันที ดังนั้นจึงใช้วิธีไม่แสดงออกไปว่ากล่าวหาเขา นอกจากนี้ยังมีสมมติฐานว่า คนเราโดยทั่วไปจะตอบสนองต่อคำพูดที่สุภาพ และยินดีให้ความร่วมมือ ดังนั้นเขาจึงเลือกวิธีการแสดงออกด้วยคำพูดที่สุภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น